ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 30000 ลิตร ตรา พีแอนด์เอส (P&S) รุ่น PS30Q

ข้อมูลเฉพาะของ ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 30000 ลิตร ตรา พีแอนด์เอส (P&S)

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดความจุ 30000 ลิตร

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดความกว้าง 250 เซนติเมตร

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดความสูง 265 เซนติเมตร

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดความยาว 670 เซนติเมตร

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร

- Air Blower 280 w

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดท่อน้ำเข้าขนาด 4-6 นิ้ว

- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส มีขนาดท่อน้ำออกขนาด 4-6 นิ้ว

สนใจส่วนสดพิเศษ Line ID : @maktang หรือ โทร. 092 412 1629

ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ตรา P&S (พีแอนด์เอส)

ภายใน ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส แบ่งออกมาเป็น 3 ช่อง ได้แก่
1.ช่องส่วนเกรอะ หรือส่วนแยกกากตะกอน ทำหน้าที่คอยแยกกากอินทรีย์สารตะกอนของเสียที่มีขนาดใหญ่ ให้ตกลงสู่ก้น ถังบำบัดน้ำเสีย ส่วนตะกอนที่มีขนาดเล็กจะล้นไปสู่ช่องต่อไปก็คือช่องส่วนเติมอากาศ
2.ช่องส่วนเติมอากาศ ทำหน้าที่รับน้ำเสียจากช่องช่องส่วนเกรอะ นำมาบำบัดโดยใช้จุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลายของเสีย โดยใช้ปั๊มเติมอากาศ ส่งอากาศเข้ามาภายในถัง ผ่านทางท่ออากาศ การใช้ปั๊มเติมอากาศนี้ทำให้จุลินทรีย์เติบโตได้ดีและกินของเสียได้ปริมาณที่มากอีกทั้งทำให้เกิดกลิ่นรบกวนที่น้อยกว่า หรืออาจจะไม่มีกลิ่นเลย
3.ช่องส่วนตกตะกอน ทำหน้าที่คอยตกตะกอนที่ยังหลงเหลืออยู่จากการบำบัดของช่องส่วนเติมอากาศ เพื่อให้น้ำที่ไหลออกจาก ถังบำบัดน้ำเสีย ไปยังบ่อพักน้ำเสีย หรือแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นน้ำที่มีความสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ช่องนี้ยังติดตั้งปั๊มดูดตะกอนย้อนกลับ สำหรับดูดตะกอนที่เหลืออยู่ ให้ย้อนกลับไปยังถังบำบัดช่องแรก(ช่องส่วนเกรอะ)เพื่อทำการบำบัดอีกรอบหนึ่ง

การติดตั้งและการใช้งานถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ P&S(พีแอนด์เอส)

ถังบำบัดน้ำเสีย P&S (พีแอนด์เอส) มีทั้งแบบเติมอากาศและแบบไร้อากาศ  โดยทางบริษัทฯได้จัดทำคู่มือการติดตั้งและการบำรุงรักษา ให้ลูกค้าได้ติดตั้ง ถังบำบัดอย่างถูกวิธี หากติดตั้งที่ผิดวิธีอาจมีความเสียหาย เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำที่จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อม 
       คุณสมบัติของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศคือการใช้อ๊อกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศเข้ามาช่วย ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในถังบำบัดน้ำเสีย ให้น้ำที่ได้ผ่านการบำบัดแล้วสามารถปล่อยลงสู่บ่อบำบัดรวมสาธารณะได้โดยเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

หลักการทำงานของถังน้ำเสียเติมอากาศ  

ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปแบบเติมอากาศ  (SEPTIC AND AERATION FILTER) ทำหน้าที่โดยเริ่มจากขั้นตอนการแยกกากตะกอนหนัก (SEPTIC) บำบัดมายังขั้นตอนการกรองแบบเติมอากาศ  (AERATION FILTER) ซึ่งอาศัยกระบวนการย่อยสลายโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย พร้อมกับใช้วิธีเครื่องเติมอากาศ เข้าไปเพิ่มอ๊อกซิเจนในถังบำบัด ซึ่งจะทำให้การบำบัดมีประสิทธิภาพได้ดีเมื่อใช้อากาศเติมสู่ระบบ ทำให้จุลินทรีย์สามารถทำงานและบำบัดสารอินทรีย์กากของเสียได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ได้ค่าน้ำที่ออกมาได้ตามมาตรฐานตามที่หน่วยงานกรมควบคุมมลพิษกำหนด อีกทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยน้ำเสียออกจากถังเป็นน้ำที่มีคุณภาพ

ตำแหน่งที่จะทำการติดตั้งถัง

โดยทั่วไปตำแหน่งของ ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส จะถูกออกแบบจะวิศวกรไว้เรียบร้อยแล้วในการออกแบบอาคาร  หากยังไม่มีการออกแบบไว้ก่อน  หรือต้องการติดตั้งถังเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ ควรให้พิจารณาดังต่อไปนี้
1.ควรติดตั้งภายนอกตัวอาคาร  เพราะสามารถทำการติดตั้งและดูแลรักษาได้ง่าย
2.ควรติดตั้งใกล้ห้องส้วมและท่อระบายน้ำสาธารณะ  เพื่อลดปัญหาการอุดตันในท่อ
3.หากติดตั้งในอาคารให้แยกโครงสร้างฐานรากของถังบำบัดออกจากฐานรากของอาคาร
4.ตรวจสอบตำแหน่งที่จะเดินท่อเติมอากาศรวมถึงตำแหน่งวางปั๊มไม่ควรห่างจากตัวถังมากนักเพราะอาจมีผลต่อแรงอัดอากาศที่ลดลงเมื่อระยะห่างระหว่างถังกับปั๊มอยู่ไกลกันและควรไว้ในที่ร่ม
5.ในกรณีมีตู้คอนโทรลปั๊มควรตรวจสอบตำแหน่งที่จะติดตั้งตู้ก่อนและควรไว้ในที่ร่มหรือมีหลังคากันแดดและฝนเพื่อยืดอายุการใช้งาน
6.ท่อเข้าออกสั่งได้มาตรฐานโรงงานและสั่งพิเศษ
      *** หากที่พื้นที่ในการวางถังบำบัดมีจำกัด ทางบริษัทฯ สามารถสั่งผลิตถังได้ตามความเหมาะสมของหน้างาน โดยทางลูกค้าสามารถติดต่อฝ่ายขายให้ออกแบบคำนวณ ความกว้างและความยาวของถังบำบัดให้เหมาะสมกับการใช้งานจากพื้นที่หน้างานจริงได้***

วิธีการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศมีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้

1.ขุดหลุมขนาด  กว้าง X ยาว X สูง  ให้เหมาะสมกับขนาดถังฐานรากและระดับท่อ เข้า – ออก                
2.(ดูแคตตาล็อคและตารางแต่ละรุ่น)  อาจใช้เสาเข็มตามวิศวกรระบุ  แล้วรองพื้นด้วยทรายและเทคอนกรีตเสริมเหล็ก  หรืออาจใช้เพียงคอนกรีตหยาบ 1:3:5 หากสภาพดินรับแรงดี
3.ยกถังวางลงในหลุม  จัดระดับถังให้เหมาะสมท่อเข้า - ออก  จะต้องไม่กดลึกกว่าระดับพื้นดินเกินกว่า  0.50 ม.  หากฝังถังลึกเกินไปถังจะเสียหายจากน้ำหนักดินที่กดทับได้ ใช้ลวดสลิงดึงรัดรอบถัง กันถังเคลื่อนและถังลอย แล้วเติมน้ำให้เต็มถังแล้วจึงกลบด้วยทรายหยาบอัดแน่นรอบถังทุกชั้น ๆ ละ 50 ซม. จากฐานรากถึงผิวพื้นด้านบนจนประกอบท่อเข้า - ออก ด้วยข้อต่ออ่อนและท่ออากาศให้สูงเลยชั้นหลังคา , ดาดฟ้า
4.ทำแนวกั้นชั่วคราวเป็นแนวเขตป้องกัน  และทำป้ายระวังถังบำบัด โดยรอบถัง เพื่อป้องกันรถบด, หรือเครื่องจักรหนักเข้ามาเหยียบถังโดยรอบขอบถังอย่างน้อย 1.50 ม. ตลอดช่วงระยะเวลาก่อสร้าง
5.เทพื้น  ค.ส.ล. ขนาดไม่เกิน  80 X 80 X 10 ซม. และฝังแหวนรองฝา  ทิ้งไว้ให้ปูนแห้งแล้วจึงวางฝาปิด  เติมหัวเชื้อ  เป็นเสร็จขั้นตอน

ข้อควรระวังในการติดตั้งถัง

1.ถังบำบัดจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำแนะนำ
2.ระดับของท่อน้ำเสียที่เข้า และท่อน้ำเสียที่ออกจากถัง ควรอยู่สูงกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ
3.การฝังท่อร้อย  (Sleeve)ที่คานชั้นล่างจะช่วยทำให้ระดับถังที่ติดตั้งไม่ลึกมากเกินไปและ ทำให้การระบายน้ำสะดวกขึ้น
4.ความลาดเอียงของท่อที่เข้า  และท่อที่ออกจากถัง  ไม่น้อยกว่า  1 : 100  หรือมีความสูงต่างกัน 1  เซนติเมตร  ต่อความยาว  1  เมตร  หากท่อน้ำเสียยาวมาก  (เกิน  4  เมตร)  ให้เพิ่มช่องล้างท่อ(FCO)  ที่ต้นท่อ  หรือใช้บ่อพักทุกระยะ  8  เมตร
5.การยกถังบำบัด  ให้ยกโดยใช้ลวดสลิงรองรับถัง  โดยใช้รถยกที่ออกแบบไว้รับน้ำหนักโดยเฉพาะห้ามยกที่ท่อเข้า - ออกซึ่งอาจทำให้ท่อหักได้
6.ห้ามติดตั้งถังในระดับท่อเข้าถึงพื้นผิวดินความลึกเกินกว่า  50  ซม.  ไม่ควรก่ออิฐฉาบปูนเป็นคอถังเพราะมีน้ำหนักกดทับถังมาก  กรณีมีความจำเป็นต้องติดตั้งลึกเกินกว่าที่กำหนด
7.ให้ใช้ทรายหยาบอัดแน่นด้วยคนและเครื่องตบอัดทรายรอบ ๆ ถัง  ตั้งแต่ฐานรากจนถึงผิวดินชั้นบนสุด  (เติมน้ำให้เต็มถังและบดอัดทรายพรมน้ำสลับกันทุกระยะความสูง 50 ซม.จนเต็มถัง พื้นผิวดินชั้นบน)
8.บริเวณที่ติดตั้งถังต้องทำแนวรั้วชั่วคราว  เพื่อป้องกันไม่ให้มีรถยนต์ รถบรรทุก หรือวัสดุหนักเข้าไปเหยียบหรือกดทับบริเวณใกล้เคียงโดยเด็ดขาด(ยกเว้นที่การทำโครงสร้างช่วยรับน้ำหนักไว้)
9.การต่อท่อระบายอากาศ  (V 2) ให้สูงเหนือชั้นหลังคาแยกต่างหากออกจากท่อระบายอากาศ (V 1) ของอากาศ  จะช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10.อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปั๊มเติมอากาศ และตู้คอนโทรล ควรอยู่ในห้องควบคุมหรืออยู่ในที่ร่มห่างจะความชื้น เพื่อยืดอายุการใช้งานที่นานขึ้น

การดูแลรักษาหลังจากติดตั้งแล้วและเริ่มใช้งาน

1.กำจัดตะกอน โดยการจ้างรถบริการดูดส้วม อย่างน้อยปีละ 1 - 2 ครั้งทั้งช่องแยกตะกอน และช่องกรอง หรือช่องเติมอากาศเพื่อให้ประสิทธิภาพการบำบัดดีขึ้น
2.ดูดตะกอนที่ก้นถังออกในปริมาณไม่เกิน 1/3 ของปริมาตรถัง  (หากสูบมากเกินกำหนดถังอาจเสียหายได้)  กรณีถังเติมอากาศให้สลับกันดูดจากช่องแยกตะกอน และช่องกรองเพื่อรักษาระดับน้ำระหว่างช่องยุบลงให้เท่า ๆ กันทำให้ถังบำบัดมีอายุการใช้งานยาวนาน
3.ให้เติมน้ำเต็มถังทันที  (สังเกตท่อน้ำล้นจะไหลออกลงบ่อพัก)  แล้วจึงปิดฝาถังให้เรียบร้อย
4.กรณี ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ให้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องเติมอากาศและเครื่องสูบตะกอนว่าทำงานตามกำหนดหรือไม่ รวมถึงตู้คอนโทรลจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของปั๊มเติมอากาศ เพราะถังเติมอากาศต้องใช้อากาศเพื่อเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ หากไม่มีเติมอากาศเติมลงถังบำบัดเชื้อจุลินทรีย์บางส่วนอาจตายได้และในกรณีถ้าเครื่องเติมอากาศชำรุดเป็นระยะเวลา1-2วัน อาจส่งผลต่อค่าน้ำBODออกที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขาดอากาศไปเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์(หากมีเสียงดังผิดปรกติจากปั๊ม ลมไม่ออก  หรือสูบน้ำไม่ขึ้น  ให้แจ้งฝ่ายบริการ)
5.ห้ามทิ้งเศษขยะ หรือของที่ไม่ย่อยสลาย  ลงในถังบำบัดน้ำเสีย
6.การทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้ง  ควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ไม่ควรล้างบ่อยและอย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคชนิดรุนแรงไหลลง  เพราะจะทำให้ถังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
7.กรณีถังดักไขมัน  ให้ถอดตะกร้าเทขยะ  และล้างตะกร้าทุกวัน  หรือเมื่อขยะเต็มหรืออุดตัน(ซึ่งอาจทำให้ถังบำบัดเสียหายได้ภายหลัง)
8.ควรสูบตะกอนไปกำจัดปีละ  1 - 2  ครั้ง  โดยสูบประมาณไม่เกิน 1/3  ของถังแล้วเติมน้ำ หลังจากนั้นให้ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังบำบัดเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์แทนของเก่าที่สูบออกไปให้การบำบัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Visitors: 3,041,601